เกษตร

การเกษตรเป็นอาชีพหลักของชุมชนดอยตุง โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้ฝึกทักษะฝีมือทางการเกษตรที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนให้แก่ชาวบ้าน อย่างการปลูกและดูแลไม้ดอกไม้ประดับเพื่อนำมาตกแต่งสวนแม่ฟ้าหลวง และสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง (ดอยช้างมูบ) ทำให้คนไทยที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศได้เห็นความงามของเมืองหนาวตลอดปี ตามพระราชดำริของสมเด็จย่า

นอกจากการปลูกไม้ดอกต่างๆ เพื่อขายให้โครงการและผู้บริโภคทั่วไปแล้ว คนในพื้นที่ดอยตุงกลุ่มหนึ่งทำงานด้านการเกษตร ทั้งการค้นคว้าวิจัยและเพาะเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์ไม้ ทำให้มีงานและรายได้ที่มั่นคง สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังเอื้อประโยชน์ให้กับธรรมชาติได้อย่างลงตัว

_DJI_0638
_DSC_6673
DSC_2576
DSC_2577
DSC_2537-Pano
DSC_2573
DSC_2581
DSC_2585
DSC_2548
DSC_2644
DSC_2605
DSC_2665
DSC_2695
DSC_2678
DSC_2703
DSC_0734
DSC_0678
DSC_3752
DSC_2565
DSC_3782
DSC_3793
DSC_3801
previous arrow
next arrow
_DJI_0638
_DSC_6673
DSC_2576
DSC_2577
DSC_2537-Pano
DSC_2573
DSC_2581
DSC_2585
DSC_2548
DSC_2644
DSC_2605
DSC_2665
DSC_2695
DSC_2678
DSC_2703
DSC_0734
DSC_0678
DSC_3752
DSC_2565
DSC_3782
DSC_3793
DSC_3801
previous arrow
next arrow
Thumbnail 1
-1
Thumbnail 2
Thumbnail 3
Thumbnail 4
-3
Thumbnail 5
-2
Thumbnail 6
Thumbnail 7
Thumbnail 7 – copy
previous arrow
next arrow
Thumbnail 1
-1
Thumbnail 2
Thumbnail 3
Thumbnail 4
-3
Thumbnail 5
-2
Thumbnail 6
Thumbnail 7
Thumbnail 7 - copy
previous arrow
next arrow

รองเท้านารีดอยตุง

ดอยตุงเป็นถิ่นกำเนิดของกล้วยไม้รองเท้านารีพื้นเมือง แต่ด้วยการตัดไม้ทำลายป่า ลักลอบเก็บของป่าในอดีต ทำให้จำนวนรองเท้านารีลดลงอย่างมาก จนเกือบสูญพันธุ์ สมเด็จย่าจึงมีพระราชดำริให้เพาะเลี้ยงรองเท้านารีขึ้นเพื่อปลูกคืนสู่ป่าเดิมในพื้นที่

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงได้ศึกษาและรวบรวมพันธุ์รองเท้านารี ตั้งแต่ปี 2537 เพื่ออนุรักษ์รองเท้านารีพันธุ์แท้ให้คงอยู่และไม่สูญพันธุ์จากป่าของไทย ตลอดจนเผยแพร่รองเท้านารีให้เป็นที่รู้จัก สนใจ นำไปสู่การปรับปรุง พัฒนา และขยายพันธุ์เพื่อการปลูกเลี้ยงและการค้าอย่างยั่งยืน โดยไม่สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศของพื้นที่ป่าเดิม

สถานที่ตั้งร้านค้า

Back to top