“ดอยตุง” เดินหน้าสร้างสรรค์ “คอลเลกชัน” เพื่อโลกในวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

ขยะพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้กว่า 8 ล้านตัน จมอยู่ในมหาสมุทรและเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี กลายเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง ดอยตุงขอมีส่วนช่วยลดปัญหาขยะด้วยกระบวนการรีไซเคิล ที่นำเส้นใยพลาสติกมาสร้างสรรค์เป็นผลงานอันประณีต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยช่างฝีมือดอยตุง

ด้วยความตั้งใจสร้างสรรค์งานมือที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด HOMEWARE คอลเลกชัน AUTUMN / WINTER 2020 ของดอยตุง จึงแฝงรายละเอียดที่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ คงความคลาสสิกด้วยรูปทรงอิสระพลิ้วไหวและโทนสี ขาว เทา ฟ้าที่เน้นสมดุลแห่งความเรียบง่าย มีดีไซน์ และฟังก์ชันในการใช้งานที่หลากหลาย ตอบโจทย์แฟชั่นในยุคปัจจุบัน ได้อย่างลงตัว ในขณะเดียวกันยังยึดแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน และเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดผลกระทบต่อธรรมชาติ ตลอดจนลดการใช้ทรัพยากรใหม่ด้วยการสร้างสรรค์ผลงานจากขยะพลาสติกในท้องทะเล เพื่อโลกในวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

สำหรับคอลเลกชันใหม่ห่วงใยสิ่งแวดล้อมของดอยตุง ได้แก่ พรมยิงเส้นใยพลาสติกรีไซเคิล คอลเลกชันสัตว์ในท้องทะเล ผลิตจากเส้นใยพลาสติกล้วน ไม่ผสมเส้นใยอื่น และเป็นพลาสติกรีไซเคิลจากขยะในท้องทะเล จึงเป็นที่มาของการออกแบบพรมเป็นรูปสัตว์ทะเล ที่มีคุณสมบัติพิเศษคือเส้นใยพลาสติกจะทนทานกว่าเส้นใยธรรมดา พรมยิงคอลเลกชันสัตว์ทะเลจึงไม่เป็นขุย ไม่เก็บฝุ่น หรือเก็บฝุ่นน้อยกว่าเส้นใยทั่วไป

นอกจากนี้สินค้า HOMEWARE ของดอยตุงยังมี แฟชั่นเสื้อผ้า เนคไท ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่สีธรรมชาติ ปลอกหมอน พรมยิง พรมทอ และเซรามิก ที่ใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น วัตถุดิบที่เลือกใช้ในงานทอเป็นเส้นใยฝ้ายประหยัดน้ำหรือ Better Cotton ซึ่งใช้ทรัพยากรน้ำน้อยกว่าในการเพาะปลูก ส่วนเศษผ้าเล็กเกินกว่าจะใช้ได้ไปเผาเพื่อใช้เป็นพลังงานในการต้มน้ำร้อนเพื่อต้ม ฟอก และย้อมผ้าอีกครั้ง ทำให้ลดการใช้แก๊สหุงต้มได้ประมาณร้อยละ 50 ส่วนน้ำเสียจากโรงย้อมผ้าก็จะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย แล้วให้พืชน้ำดูดซับสารพิษและเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ น้ำที่บำบัดแล้วก็ใช้ในการรดน้ำต้นไม้ต่อไป จึงไม่มีของเหลือใช้เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตนี้เลย สำหรับเซรามิกเกิดจากการรังสรรค์ก้อนดินให้กลายเป็นเครื่องใช้ โดยนำเปลือกกะลาแมคคาเดเมีย และหญ้าแฝกมาเป็นเชื้อเพลิงในการเผา ทำให้เซรามิกของดอยตุงมีลวดลาย และสีสันที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครในแต่ละชิ้นงาน ด้านการบรรจุหีบห่อเพื่อส่งสินค้าให้ผู้บริโภค จะถูกใส่ลงในถุงซิปล๊อค ห่อกระดาษและถุงกระดาษ ถือเป็นการรณรงค์การลดใช้ถุงพลาสติก ส่วนถุงซิปล๊อคที่ใช้งานแล้วก็จะถูกส่งกลับมายังโรงทอเวียนกลับมาใช้งานอีกครั้ง  

ทั้งนี้ กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมย่อมมาพร้อมกับขั้นตอนมากมายที่เพิ่มขึ้น ในอนาคตทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และแบรนด์ดอยตุง จึงกำลังพยายามสร้างความตระหนักรู้ให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของความไม่สะดวกสบายทั้งหลายเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก ผ่านแฮชแท็ก #InconvenientIsneccessary  ..ติดตามอัปเดตเรื่องราวงานพัฒนาคนและธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ที่ www.maefahluang.org 

“ดอยตุง” เผยโฉมแฟชั่นสุดล้ำ “ดีไซน์สวย…ช่วยโลกได้”

เมื่อโลกแฟชั่นได้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ เพื่อสร้างความสุนทรีให้กับมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ อย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งกลายเป็นธุรกิจที่สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไม่ตั้งใจ ขณะที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงขึ้น และผลักดันให้เราต้องเผชิญหน้ากับปัญหาโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น วิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อน ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เป็นต้น แต่สิ่งที่น่าเป็นกังวลไม่แพ้กันคือเราทุกคนก็กำลังส่งต่อปัญหานี้ไปสู่ลูกหลานในอนาคต ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นอาจไม่มีทางแก้แล้ว

ประเด็นสำคัญนี้จึงกลายมาเป็นแนวคิดหลักในการรังสรรค์งานแฟชั่นของ กลุ่มนักออกแบบ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้สร้างศิลปะแฟชั่นผ่านแบรนด์ ดอยตุง นำเสนอเรื่องราวการทอผ้าแบบดั้งเดิมตามวิถีชนเผ่า การทำเซรามิกสุดประณีต ที่เปลี่ยนก้อนดินให้กลายเป็นงานศิลปะรวมเข้ากับแฟชั่นการออกแบบ อันนำไปสู่ชิ้นงานสร้างสรรค์ที่เป็นมากกว่า เทรนด์ โดยนอกจาก ดีไซน์โก้ ฟังก์ชันดีแล้ว สิ่งที่ต้องยึดเป็นหัวใจสำคัญต่อจากนี้ไปคือ ต้องไม่ทำลายโลก โดยให้ความสำคัญกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสม กระบวนการผลิตที่มุ่งหวังที่จะลดขั้นตอนในการผลิต ระยะเวลาในการทำงานที่สั้นลง การลดการใช้พลังงาน รวมไปถึงการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต

โดยล่าสุด กลุ่มนักออกแบบ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้สร้างสรรค์ผลงานภายใต้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนที่เน้นสมดุลแห่งความเรียบง่าย และลดผลกระทบต่อธรรมชาติให้มากที่สุดในทุกขั้นตอนการผลิต ยึดหลักแนวคิด ซีโร เวสต์ (Zero Waste) หรือ ขยะเหลือศูนย์ ตั้งแต่การออกแบบ ตัดเย็บเพื่อลดปริมาณของเสียเหลือทิ้งให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเหลือทิ้งเป็นขยะเลย ตลอดจนนำเอาขยะพลาสติกในท้องทะเล และเศษวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์เป็นผลงานที่สวยและใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่ในการผลิตสินค้าเเฟชั่น

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับ 5 รางวัลคุณภาพ จาก 2 เวทีระดับประเทศ

การันตีผลงานคอลเล็กชันนี้ ด้วย 5 รางวัลคุณภาพ จาก 2 เวทีระดับประเทศ ได้แก่ 1 รางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น (Prime Minister’s Export Award :: PM Award 2020) ประเภทสินค้าที่มีการออกแบบยอดเยี่ยม กลุ่มสินค้าความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องแต่งกาย และ 4 รางวัล สินค้าไทยที่มีการออกแบบดี (Design Excellence Award 2020 หรือ Demark) ประเภทกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์  กลุ่มความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องแต่งกาย และกลุ่มออกแบบบรรจุภัณฑ์ จัดโดย สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมและยกระดับสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

เสื้อโค้ท ดอยตุง คอลเล็กชัน “ม้ง” (HMONG)
กระเป๋า ดอยตุง คอลเล็กชัน “ม้ง” (HMONG)

โดยผลงานที่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ รังสรรค์ออกมาเป็นงานดีไซน์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ได้แก่ คอลเล็กชันเสื้อโค้ท และ กระเป๋า ที่มีชื่อเดียวกันว่า ม้ง (HMONG) โดย เสื้อโค้ทม้ง (HMONG : Coat) ได้แรงบันดาลใจมาจากเครื่องแต่งกายชนเผ่าม้งบนดอยตุง ที่มีอากาศหนาวเย็น ผสมกับการเล่นสีสันที่สดใสเพิ่มความสนุกให้ชิ้นงาน และที่สำคัญคือการนำขวดพลาสติกเหลือใช้ขนาด 600 มิลลิลิตร จำนวน 130 ใบ มาผ่านกระบวนการอัพไซคลิง (Upcycling) ใช้เป็นวัสดุร่วมกับเส้นใยธรรมชาติ ถักทอออกมาเป็นเสื้อโค้ทแฟชั่นสุดล้ำ และยังมีฟังก์ชันพิเศษเลือกใส่ได้ 2 ด้าน 2 สไตล์ สามารถกันหนาว และกันละอองน้ำได้ดี ทำให้ไม่อับชื้น ส่วน กระเป๋าม้ง (HMONG: Shoulder Bag) ความเก๋อยู่ที่สร้างสรรค์จากลายผ้าที่มีความร่วมสมัย ทอด้วยเส้นใยธรรมชาติจากเยื่อไผ่ 100% และวัสดุด้านในยังเป็นฟรอยด์ฉนวนเก็บอุณหภูมิ สามารถใส่กล่องข้าว ลดการเกิดปัญหาอาหารบูดเสีย ฟู้ดเวสท์ (Food Waste) ได้ แถมยังมีความทนทานทำให้ยืดอายุการใช้งานของกระเป๋าได้นานขึ้น 

ดอยตุง เซรามิก คอลเลกชัน “ซีโร่” (CERRAMICS ZERO)

นอกจากนี้ยังได้ออกแบบชุดเซรามิกแก้วกาแฟและชุดชงกาแฟดริป ดีไซน์มินิมอล ชื่อว่า เซรามิกซีโร(CERAMICS ZERO) มีลูกเล่นตรงด้ามจับรูปทรงแปลกตา ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบจากความโค้งมนตามธรรมชาติ ทั้งยังโอบรับกับเส้นของลวดลายสีขาวตัดกับสีดำสนิทที่เกิดจากการเผาด้วยเทคนิคพิเศษ คือ การใช้เศษหญ้าแฝกและเปลือกแมคคาเดเมียที่ถูกทิ้งมาเป็นเชื้อเพลิงในการเผา เขม่าควันที่เกิดขึ้นระหว่างการเผาช่วยสร้างสรรค์ ให้สีและลายของเซรามิกแต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว กลายเป็นผลงานมาสเตอร์พีซชิ้นเดียวในโลก ที่เกิดจากการนำเอาเศษเหลือทิ้งมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์กาแฟพีเบอร์รีดอยตุง

บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์กาแฟพีเบอร์รีดอยตุง

เช่นเดียวกับ อีก 1 ผลงาน ที่เกิดจากแนวคิดการนำเศษวัสดุที่หลงเหลือจากกระบวนการผลิตมาทำให้เกิดประโยชน์แทนการทิ้งเป็นขยะ คือ ผลงานการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กาแฟพีเบอร์รีดอยตุง ที่ตัวกล่องทำจากเศษวัสดุที่เหลือจากการผลิตกระดาษสาและเศษฝ้าย จากโรงงานสาและโรงงานทอผ้าของ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จังหวัดเชียงราย โดยนำมาขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเซรามิก ปูนปลาสเตอร์จะช่วยให้บรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปแล้วแห้งเร็วขึ้น ลดเวลาการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้เป็นกระถางปลูกต้นไม้ได้ด้วย เพราะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ถือเป็นไอเดียสุดว้าวในการนำเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตอื่นๆ มาสร้างเป็นผลงานชิ้นใหม่ได้อย่างมีคุณค่า

มาเป็นสายแฟชั่นรักษ์โลกที่ช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง เพื่อโลกในวันนี้และในอนาคตไปพร้อมๆ กัน อัปเดตหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Facebook: DoiTungClub และ Line: @DoiTung_Lifestyle   

“ดอยตุง” รับ G Green รางวัลแห่งความภูมิใจ สร้างคนอยู่กับป่าด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน

“ดอยตุง” ภายใต้การดำเนินงานของ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีการผลิตสินค้าหัตถกรรมจากชุมชน แต่ยังใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งงานผ้าฝ้ายทอมือผสมผสานด้วยเอกลักษณ์ท้องถิ่น และเซรามิกที่รังสรรค์ก้อนดินให้กลายเป็นเครื่องใช้สุดประณีต กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้เลือกและพิจารณามอบโล่รางวัลสัญลักษณ์ G Green Production ประเภทเซรามิก ระดับดีเยี่ยม และประเภทสิ่งทอ ระดับดีเยี่ยม เพื่อรับรองว่าดอยตุงมีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

รางวัล G-Green เซรามิกและสิ่งทอ

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ กล่าวถึงแนวคิดในการดำเนินงานของมูลนิธิและแบรนด์ดอยตุงไว้ว่า จากการที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งทรงมีพระราชปณิธานสร้างโอกาส พัฒนาชาวไทยภูเขาที่ขาดต้นทุนชีวิต ด้วยการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิต ต่อยอดสู่การสร้างธุรกิจเพื่อสังคม ยกระดับคุณภาพด้วยการพัฒนาป่าและคน โดยมีโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) ตามพระราชดำริ เป็นต้นแบบภายใต้แบรนด์ “ดอยตุง” ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามตำราแม่ฟ้าหลวง ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติตามแนวคิดคนอยู่กับป่าอย่างเป็นมิตร

สิ่งทอ(แฟชั่น)
สิ่งทอ(แฟชั่น)

โดยการพัฒนาธุรกิจควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้แทรกอยู่ในทุกขั้นตอนการผลิตนี้ เป็นที่มาของรางวัล G Green Production เพราะไม่ว่าจะเป็นโรงงานทอผ้าที่อยู่ภายใต้แบรนด์ดอยตุง ที่ใส่ใจตั้งแต่วัตถุดิบที่เลือกใช้ในงานทอเป็นเส้นใยฝ้ายประหยัดน้ำหรือ Better Cotton ซึ่งใช้ทรัพยากรน้ำน้อยกว่าในการเพาะปลูก และเส้นใยเหล่านี้ถูกนำมาย้อมสีด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น เช่น คราม ดอกทองกวาว หัวหอม กาแฟ หรือฮ่อม และยังให้สีที่แตกต่างกันตามแต่ละฤดูกาล เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ก่อนจะถูกถักทอเป็นผ้าบนกี่แบบดั้งเดิมด้วยฝีมือผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนตัดเย็บหากเหลือเศษผ้าจะถูกนำมาแปรรูปใส่ความคิดสร้างสรรค์กลายเป็นของใช้ชิ้นเล็กอย่างพวงกุญแจหรือใช้ประดับตกแต่งลวดลายสินค้าต่อไป แต่ถ้าเศษผ้าเล็กเกินกว่าจะใช้ได้ เศษผ้าและเศษด้ายจะถูกนำไปเผาพร้อมกับกะลาแมคคาเดเมียเพื่อใช้เป็นพลังงานในการต้มน้ำร้อนสำหรับกระบวนการต้ม ฟอก และย้อมผ้าอีกครั้ง ทำให้ลดการใช้แก๊สหุงต้มได้ประมาณร้อยละ 50 ส่วนน้ำเสียจากโรงย้อมผ้าก็จะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้แนวคิด “ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” ให้พืชน้ำดูดซับสารพิษและเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ น้ำที่บำบัดแล้วก็ใช้ในการรดน้ำต้นไม้ต่อไป จึงไม่มีของเหลือใช้เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตนี้เลย ด้านการบรรจุหีบห่อเพื่อส่งสินค้าให้ผู้บริโภค จะถูกใส่ลงในถุงซิปล๊อค ห่อกระดาษและถุงกระดาษ ถือเป็นการรณรงค์การลดใช้ถุงพลาสติก ส่วนถุงซิปล๊อคที่ใช้งานแล้วก็จะถูกส่งกลับมายังโรงทอเวียนกลับมาใช้งานอีกครั้ง

เตาชีวมวล

หรือแม้แต่กระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับโรงงานเซรามิก ก็มีความใส่ใจในทุกขั้นตอนเช่นกัน ตั้งแต่การเลือกดินหลากชนิดมาผสมกัน ปั้นหรือเทลงแบบพิมพ์กลายเป็นภาชนะต่างๆ การอบแห้งและเผาพร้อมชุบเคลือบด้วยหินแร่ เพื่อให้เกิดสีที่แตกต่างกันออกไปเวลาที่เผาในอุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส และถึงแม้เซรามิกจะไม่สามารถรีไซเคิลได้แบบวัสดุอื่นๆ ทางดอยตุงได้หาวิธีนำชิ้นส่วนเหล่านี้ไปบดเป็นผง ผสมดินในอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อขึ้นรูปใหม่หรือใช้เป็นส่วนผสมในการทำพื้นถนนเพื่อทดแทนการใช้ทรัพยากรอื่นๆ สำหรับแม่พิมพ์ของสินค้าเซรามิกที่ต้องอบแห้งก่อนการขึ้นรูป ดอยตุงเลือกใช้พลังงานชีวมวลจากเปลือกแมคคาเดเมียมาทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม โดยใช้เปลือกแมคคาเดเมียมาต้มน้ำร้อน และส่งความร้อนต่อไปที่อากาศแทน นอกจากนี้ยังมีการเผาอากาศด้วยก๊าซหุงต้มแบบเดิม จากการลองผิดลองถูกนับครั้งไม่ถ้วน วิธีนี้ทำให้ลดการใช้แก๊สหุงต้มได้เกือบทั้งหมด ซึ่งการช่วยกันคิดค้นหาทางออกใหม่ๆ ไม่ใช่เพียงไอเดียของผู้บริหารและนักออกแบบเท่านั้น แต่การคิดค้นในหลายๆ ครั้งยังเกิดจากชาวบ้านที่ปฏิบัติงานและเล็งเห็นปัญหาด้วย

ชุดเซรามิกดอยตุง
ชุดเซรามิกดอยตุง

ทั้งนี้ กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมย่อมมาพร้อมกับขั้นตอนมากมายที่เพิ่มขึ้น ในอนาคตทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และแบรนด์ดอยตุง จึงกำลังพยายามสร้างความตระหนักรู้ให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของความไม่สะดวกสบายทั้งหลายเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก ผ่านแฮชแท็ก #InconvenientIsneccessary  ..ติดตามอัปเดตเรื่องราวงานพัฒนาคนและธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ที่ www.maefahluang.org

Back to top